การสอนแบบ Collaborative and Coaching Instruction (CO2) เกิดขึ้นได้อย่างไร

จากนโยบายมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่มุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาผู้เรียน โดยผู้บริหารคณะศิลปศาสตร์ ได้มีโจทย์แนวทางสำคัญของการจัดการเรียนการสอน คือ “ต้องการให้มีวิธีการดูแลผู้เรียนสร้างรูปแบบวิธีการสอนใหม่ๆ” เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ รักและเรียนรู้พัฒนาทักษะทางด้านภาษาเพิ่มมากขึ้น และให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ตามที่หลักสูตรต้องการ จึงได้เกิดรูปแบบการสอนเป็นทีมแบบ CO2 ดังนี้
Collaborative and Coaching Instruction (CO2) หมายถึง การสร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาเดียวกัน เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีผู้สอนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ของรายวิชานั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในถ่ายทอดความรู้หรือคอยให้คำแนะนำชี้แนะช่วยเหลือผู้เรียน ในประเด็นหัวข้อเนื้อหารายวิชาที่รับผิดชอบ หรือที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับรายวิชาที่สอน ผ่านการสอนออนไลน์ Application Zoom
องค์ประกอบสำคัญของการสร้างทีม CO2
- รายวิชาที่นำมาบูรณาการองค์ความรู้ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น (1) ENG112 ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสารในสังคม (2) EBC200 บัณฑิตในอุดมคติทางด้านภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ (3) EBC231 ทักษะการฟังและการพูดทางธุรกิจ (4) EBC227 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นต้น
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ของแต่ละรายวิชา ให้มีความชัดเจน เพื่อการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ในการจัดแบ่งกิจกรรมรู้และความรับผิดชอบ ให้มีผลลัพธ์การเรียนรู้ ตรงเป้าหมายของหลักสูตร และตรงกับเป้าหมายของแต่ละรายวิชา โดยคำนึงการเรียนภาษาตามธรรมชาติที่เริ่มจากทักษะการรับสาร (Receptive Skills) เมื่อผู้เรียนได้รับการพัฒนาการรับสารจากการฟังและการอ่าน แล้วก็จะสามารถพัฒนาการทักษะด้านการแสดงออก (Productive Skills) ขึ้น
ภาพที่ 1 ผลลัพธ์การเรียนรู้ จากการบูรณาการองค์ความรู้ในแต่ละรายวิชา
- ความพร้อมสำหรับความร่วมมือของผู้สอนในแต่ละรายวิชา เพื่อร่วมกันออกแบบสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ และการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ ที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอน คณะศิลปศาสตร์ได้เกิด Team Teaching Online ด้วยความร่วมมือของทีมอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนแบบ CO2
ขั้นตอนกระบวนการสร้างรูปการสอนแบบ Collaborative and Coaching Instruction (CO2)
- เป้าหมายของการสร้าง Team Teaching คือ การสร้างความร่วมมือทางด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการบูรณาการรายวิชาที่มีความเชื่อมโยงเนื้อหาที่สอดคล้องกัน ซึ่งมีเป้าหมายหลักๆ ดังนี้
1.1 เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ Learning Outcome ตามหลักสูตร ของทุกรายวิชาที่มีการบูรณาการ
1.2 อาจารย์ คือ เป็นวิทยาการถ่ายทอดความรู้ Facilitator และคอยชี้แนะแนวทาง ให้คำปรึกษา Coach แก่นักศึกษา คอยให้ Feedback ข้อเสนอแนะผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
1.3 ดูแล นักศึกษา อย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้สอน คือ ทีมอาจารย์ผู้สอนต้องสามารถเปิดช่องทางการติดต่อที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผ่าน Facebooks, Line, Massager เป็นต้น
1.4 จัดการสอนเป็นทีม (Collaborative Teaching) คือ มีการจัดตารางแผนการสอนร่วมกันในแต่ละ 1 สัปดาห์ที่ชัดเจน
1.5 ดูแล นศ อย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ผู้สอนเพื่อทราบ Progress ของผู้เรียน มีช่องทางหลากหลายในการติดตาม สอบถามและติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
- ออกแบบห้องเรียนสำหรับการสอนแบบ CO2
ในการจัดการห้องเรียนเมื่อกำหนดเป้าหมายเรียบร้อย จะมีการกำหนดห้องเรียนในการสอนแบบ CO2 แบ่งห้องเรียนออกเป็น 2 ห้องเรียน ซึ่งใน 1 ห้องเรียนจะมีอาจารย์คอยดูแลนักศึกษาจำนวน 2 ท่าน อาจารย์ที่ประจำห้องเรียนก็จะแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน คือ ถ้าท่านนึงรับผิดชอบในการอธิบายทฤษฎี อีกท่านจะเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือผู้เรียน โดยอาจารย์จะมีความสามารถในแต่ละทักษะภาษาอังกฤษที่ต่างกัน และทักษะด้านอื่นๆ ยกตัวอย่าง 1 ห้องเรียนในด้านการสอนภาษาอังกฤษ ห้อง E001 จะมีอาจารย์ที่มีความสามารถ และความถนัดทางด้านการออกแบบ การจัดทำสไลด์ คลิป วีดีโอ ก็จะรับผิดชอบเพิ่มเติมและสอนร่วมกับอาจารย์ที่มีความสามารถด้านการภาษาอังกฤษ ที่อาจจะดูแลด้านเนื้อหาการสอนและการออกแบบข้อสอบ หรือวิธีการวัดผลประเมินผล เป็นต้น
- หลักการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนเป็นโค้ช (Coaching Model)
การเป็นโค้ชให้ผู้เรียน ด้วยการ OPEN คือการเปิดใจผู้สอนและผู้เรียน ในการให้ความรู้ ชี้แนะแหล่งสายงานวิชาชีพในการทำงาน โดยมีหลักการเป็นโค้ชให้กับผู้เรียน มีดังนี้
- Observe Opportunity คือ โค้ชจะคอยสังเกตพฤติกรรม มองหาและเปิดโอกาสในการสร้างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้เรียนสนใจเรียนรู้
- Prepare Positive-Mindset และ Push คือ โค้ชต้องจิตใจที่ดี คิดบวก คอยเตรียมความพร้อมและผลักดันชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน ได้เกิดการเรียนรู้ฝึกฝนทักษะผ่านกิจกรรมที่หลากหลายเพิ่มขึ้นสู่ความสำเร็จ
- Educate, Empower, Execute คือ โค้ชทำหน้าที่ดำเนินการให้ความรู้ ส่งเสริมพลังการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้สู่ความสำเร็จในวิชาชีพ
- Non-judgmental Feedback คือ โค้ชจะคอยชี้แนะให้คำปรึกษา แนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักการของสาขาวิชานั้น แต่ไม่ใช่การสรุปหรือตัดสินว่าผู้เรียนว่า ถูกหรือผิด ควรเป็นการแนะนำวิธีการศึกษาค้นคว้า หรือการเปรียบเทียบยกตัวอย่าง สร้างแรงจูงใจ ให้เห็นความแตกต่างเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม จนผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบด้วยตนเอง
- กระบวนการเรียนการสอน (Process of Teaching & Learning แบบ CO2)
4.1 การจัดประชุมร่วมกันกำหนดเป้าหมาย (Set clear goals) คือการประชุมทีมอาจารย์ในแต่ละรายวิชาเพื่อกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ในภาพรวมและสอดคล้องกับรายวิชาที่สอน
4.2 วางแผนบทเรียนและโครงการ (Plan lessons & project ) คือการจัดสรรเนื้อหาแต่ละรายวิชานำมาบูรณาการ และออกแบบโครงการที่มีความเหมาะสมกับเนื้อหาและความสามารถของผู้เรียน
4.3 จัดสรรบทบาทและความรับผิดชอบ (Allocate roles and responsibilities) คือการแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับอาจารย์ผู้สอนตามความเชี่ยวชาญ
4.4 การจัดเตรียมวัสดุ (Prepare materials) คือการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อเครื่องมือสำหรับการการเรียนรู้ของนักศึกษา
4.5 เรียกใช้เซสชันการปฐมนิเทศ (Run an orientation session)
4.6 สอบถามและให้ข้อเสนอแนะ (Ask and give feedback) คือการสำรวจสอบถามผู้สอนและผู้เรียน เพื่อขอข้อมูลข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา Model
4.7 ดำเนินการประเมินผลสิ้นระยะ (Conduct end-of-term evaluation)
- กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Project based Learning ด้วยการสอนแบบ CO2
ตัวอย่างผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยการสอนแบบ (CO2) ในห้องเรียนปกติ
การเรียนการสอนแบบออนไลน์ Process of Online Teaching & Learning ในรูปแบบ CO2
- More less on Dlearning SPU ใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม Dlearning มหาวิทยาลัยศรีปทุม สำหรับเป็นฐานข้อมูล ลงสื่อและเอกสารประกอบการสอน เช่น สไลด์ PPT, VDO, Link QR Code, Sheet เนื้อหาความรู้, ใบงาน, แบบประเมิน เป็นต้น
- More less on Application Zoom, Vidyard เปลี่ยนห้องเรียนปกติเป็นห้องเรียนออนไลน์ สำหรับการสอนและการสื่อสารพูดคุยสนทนา ตอบข้อซักถาม การเฉลยการบ้าน หรือการอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
- Facebook & line เป็นช่องทางสำหรับนักศึกษาในการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมส่วนตัว กับอาจารย์ผู้สอนนอกเวลาเรียนได้อย่างต่อเนื่อง และผู้สอนสามารถติดตาม ให้ข้อมูลเนื้อหาก่อนเรียน ซักถามแบบ Online & Face-to-Face ให้ Feedback นักศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการต่างๆได้ ตัวอย่าง รายวิชา ENG501 ซึ่งมีเทคนิคในการทำความเข้าใจปัญหาของนักศึกษา Understanding the Problem ดังนี้
A Transition Self-study & Prerecorded lessons
B Motivation Gamification, varying activities & participation points
C Miscommunication Transparency
D Time for Student feedback and compromise Self-study + ZOOM CLASS
E Preparation for each member for their own and their partner’s benefits
- การเรียนรู้โดยใช้โครงงานและการประเมิน / การประเมินออนไลน์ (Project-based learning and ONLINE Evaluations/Assessments)
- ผลงานนักศึกษา จากการเรียนการสอนแบบCO2 ผ่านห้องเรียนออนไลน์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ สุขวิจิตร บาร์
และทีมอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รับชม VDO ย้อนหลัง “ถอดบทเรียน เปลี่ยนห้องเรียนสู่ออนไลน์” หัวข้อ “Team Teaching Online”
คลิก https://www.facebook.com/watch/live/?v=460848081777313&ref=watch_permalink
คลิกอ่าน https://kmbytlcspu.blogspot.com/2021/07/team-teaching-online.html
