ในช่วงปี 2568 ผู้คนให้ความสำคัญกับรูปร่างและโภชนาการกันมากขึ้น หลายคนอาจยังเชื่อว่าเพียงแค่บริโภคโปรตีน ไขมันดี และคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็เพียงพอต่อสุขภาพที่ดีแล้ว แต่ W9 Wellness Center พบว่า การดำเนินวิถีชีวิตดังกล่าวอาจเป็น “กับดักสุขภาพ” ยุคใหม่ ที่สามารถนำพาไปสู่ภาวะขาดสารอาหารโดยไม่รู้ตัว ซึ่งส่งผลกระทบกับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่แค่กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังอีกต่อไป
หลายคนให้ความสำคัญมากเกินไปกับการนับพลังงานรวมจากอาหารหรือการนับแคลอรี โดยดูเพียงแค่สารอาหารหลัก (Macronutrients) เพื่อคาดหวังว่าจะช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี หรือมุ่งเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ละเลยคือ “คุณภาพของอาหาร” โดยเฉพาะเมื่อเลือกบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปสูง (Ultra-processed food) ซึ่งแม้จะสะดวก รวดเร็ว และดูเหมือนมีสารอาหารครบถ้วน แต่กลับขาดแร่ธาตุและวิตามินจำเป็น (Micronutrients) หลายชนิด ตัวอย่างเช่น การนำผักผ่านไมโครเวฟ พบว่าสารแคโรทีนอยที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในพืชนั้นโดนทำลายไปเกือบทั้งหมด หรือแม้แต่การทานโปรตีนเสริมชนิดผงชงเป็นหลักแทนการรับประทานโปรตีนจากอาหารธรรมชาติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพจาก W9 Wellness Center อธิบายว่า อาหารแปรรูปจำนวนมากถูกออกแบบมาให้รสชาติดีและอิ่มท้อง โดยส่วนใหญ่พยายามบิดเบือนข้อมูลทางโภชนาการ แข่งกันเน้นชูเฉพาะจุดเด่น เช่น ให้โปรตีนสูง โลว์คาร์บ ไขมันต่ำ หรือแม้แต่ออร์แกนิก แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่อาหารสุขภาพอย่างที่ทุกคนเข้าใจ เพราะกระบวนการแปรรูปอาหารที่บริษัทส่วนใหญ่ไม่ได้แจ้งให้ชัดเจนนั้น ทำให้อาหารขาดสิ่งที่ร่างกายต้องการในการทำงานปกติของร่างกายในระดับเซลล์ เช่น วิตามิน A, C, B-complex, แมกนีเซียม, สังกะสี, ซิลีกา, ซัลเฟอร์ ซึ่งหากขาดต่อเนื่อง จะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน การนอนหลับ อารมณ์ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หลายโรค เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงภาวะสมองล้า (Brain fog) และอารมณ์แปรปรวน ได้อีกด้วย
ฮอร์โมน อีกหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญที่ถูกมองข้ามในยุคอาหารแปรรูป
นอกจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นแล้ว ภาวะการบริโภคอาหารแปรรูปสูง (Ultra-processed food) ยังส่งผลกระทบต่อความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพและการชะลอวัย ฮอร์โมนทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย ตั้งแต่การเผาผลาญพลังงาน การนอนหลับ อารมณ์ ไปจนถึงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการซ่อมแซมเซลล์ โดยพบผลกระทบของการขาดสารอาหารต่อสมดุลฮอร์โมน ดังนี้
- ฮอร์โมนอินซูลินและภาวะดื้ออินซูลิน: การบริโภคอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลสูง หรือแม้แต่การเติมสารให้ความหวานเทียมที่ไม่มีน้ำตาล ซึ่งหลายชนิดก็ยังทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามาก และนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอ้วน
- ฮอร์โมนความเครียด (Cortisol): การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี แมกนีเซียม และสังกะสี ซึ่งมักพบในคนที่รับประทานอาหารแปรรูปเป็นประจำ สามารถส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในระดับที่ไม่สมดุล ทำให้เกิดความเครียดสะสม การนอนหลับผิดปกติ และอารมณ์แปรปรวน
- ฮอร์โมนไทรอยด์: แร่ธาตุบางชนิด เช่น ซีลีเนียมและไอโอดีน มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย การขาดสารอาหารเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย น้ำหนักขึ้น หรือผมร่วง
- ฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Testosterone): สารปนเปื้อนกลุ่มพลาสติก BPA จากภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ของอาหารแปรรูปส่วนใหญ่ ถือเป็นศัตรูหลักของระบบฮอร์โมน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการสมดุลของฮอร์โมนเพศ โดยไปรบกวนการทำงานตั้งแต่การผลิต จนถึงการทำงานของฮอร์โมนกับร่างกาย (Hormone disruptors) ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญ การทำงานของสมอง ความต้องการทางเพศ และมวลกล้ามเนื้อ
วิกฤติสารอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพอนาคต
จากการเก็บข้อมูลจากการตรวจสุขภาพองค์รวมของคนไทยมากว่า 6 ปี W9 Wellness Center พบว่า การประเมินภาวะโภชนาการในยุคปัจจุบันซับซ้อน อาจไม่ตรงไปตรงมาเหมือนอดีตที่ผ่านมา ที่อาหารแปรรูปยังน้อย และคุณค่าของอาหารยังครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น แต่สืบเนื่องจากวิกฤติคุณภาพของดิน ทำให้แร่ธาตุ และโปรไบโอติกส์จำนวนมากหายไปจากดิน ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลแร่ธาตุ และเสียสมดุลลำไส้ (Gut dysbiosis) ซึ่งทำให้การดูดซึมสารอาหารลดลง ทุกอย่างนี้ล้วนเป็นปัจจัยร่วมทำให้เกิด “การขาดสารอาหาร” ในยุคสมัยใหม่ ที่คนบริโภคแคลอรีกันเพียงพอหรือเกินพอ แต่กลับมีภาวะขาดสารอาหารกันอยู่เป็นจำนวนมาก ปัญหานี้ได้ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นของงานวิจัยใหญ่ในยุคโควิดระบาด ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุที่ขาดแร่ธาตุและสารอาหารรอง เช่น แร่ธาตุสังกะสี จะป่วยและติดเชื้อไวรัสได้ง่ายกว่า ป่วยรุนแรงกว่า และมีอัตราการนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า คนที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมในเนื้อเยื่อต่ำมักจะสัมพันธ์กับการปวดศีรษะไมเกรนหรือปวดกล้ามเนื้อ Office syndrome ได้ง่าย การเสริมวิตามินบี 2, Coenzyme Q10, และแมกนีเซียมในผู้ป่วยไมเกรน สามารถช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดไมเกรนได้ เป็นต้น
W9 Wellness Center ขอแนะนำให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับ “คุณค่าของอาหาร”มากกว่าการนับแค่ปริมาณพลังงาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคเรื้อรัง การตรวจวิเคราะห์ภาวะสารอาหารในร่างกายอาจมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว และปรับสมดุลโภชนาการให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพราะสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากภายใน
W9 Wellness Center ขอมอบโปรโมชันฉลองครบรอบ 6 ปี ลดสูงสุดกว่า 40% สำหรับทุกโปรแกรมยอดนิยมข้อมูลเพิ่มเติม : https://w9wellness.com/th/w9-wellness-promotion-6th-anniversary
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือนัดหมายเข้ารับการประเมินสุขภาพเชิงลึก ได้ที่ W9Wellness Center โทร. 092 993 6922, Line: @W9Wellness, IG/FB: @W9Wellness